วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ผักสวนครัวในขวดพลาสติก


จัดทำโดย
        1. นางสาวพิจิตร   ประทุม       รหัสนักศึกษา  55191500148
        2. นายธวัชชัย       พรมแก้ว     รหัสนักศึกษา  55191500129

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
        1. อาจารย์บุญโต       นาดี
        2. อาจารย์ไพฑูรย์     ทองสุข
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ปีการศึกษา  2557

บทคัดย่อ
                 ปัจจุบันบ้านเมืองของเราเต็มไปด้วยขยะและเศษวัสดุเหลือใช้ที่แต่ละบ้านต่างนำมาทิ้งโดยไม่คำนึกถึง ผลที่จะตามมาซึ่งทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน  นอกจากนี้การเพิ่มจำนวนของประชากรมนุษย์มีจำนวนมากขึ้นการสร้างที่อยู่อาศัยก็มากขึ้นตามไปด้วยทำให้มีพื้นที่ทำการเกษตรลดน้อยลง ส่งผลให้พืชผักมีราคาสูงขึ้นผู้จัดทำโครงงานนี้จึงได้เล็งเห็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นและมองเห็นประโยชน์ของขวดพลาสติกและเศษวัสดุเหลือใช้เหล่านั้น  เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นำเอาขวดพลาสติกเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า โดยการนำเอาขวดพลาสติกมาทำเป็นกระถางปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง  จากการทดลองปลูกพืชผักสวนครัวกินเองในขวดพลาสติกนั้น  สามารถช่วยลดปริมาณขยะลดโลกร้อนอีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกด้วย
กิตติกรรมประกาศ
          การศึกษาโครงงานเรื่องนี้สำเร็จ ได้ด้วยความช่วยเหลือให้คำปรึกษาจากอาจารย์บุญโต  นาดี และอาจารย์ไพฑูรย์     ทองสุข          ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทางและการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องของโครงงานจนสำเร็จด้วยดี  คณะผู้จัดทำจึงขอกราบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง
 บทที่ 1
บทนำ


1.1 ที่มาและความสำคัญ
              “เศรษฐกิจพอเพียง"              เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีเพื่อชี้แนะแนวทางดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมี พอใช้ การรู้จักพอประมาณการคำนึงถึงความมีเหตุผล ส่งเสริมความประหยัดในครัวเรือนจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การซื้อผักจากท้องตลาดนั้นค่อนข้างมีราคาแพงและเต็มไปด้วยสารเคมี   ในยามฉุกเฉิน เช่น น้ำท่วม  ถนนขาด  อีกทั้งปัญหาการจราจรติดขัด  การปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเองนั้นถือเป็นการสำรองอาหารอีกวิธีหนึ่ง  ซึ่งการปลูกพืชผักสวนครัวด้วยวิธีการปลูกในขวดพลาสติกนั้นยังถือเป็นการช่วยลดขยะ ลดโลกร้อน และยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกด้วย  อีกทั้งยังสามารถทำได้สำหรับทุกๆสถานที่ไม่ว่าจะเป็นตึก  อาคาร  บ้านเช่าก็ตาม     
                                                                                                                                                              
1.2 วัตถุประสงค์
        1. เพื่อการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างคุ้มค่า  ลดขยะในชุมชน  สังคม และช่วยลดโลกร้อน
        2. เพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภคพืชผักที่มีสารพิษตกค้าง  และเพื่อสุขภาพพลานามัยที่ดี
        3. เพื่อพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเกิดการต่อยอดนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
        4. เพื่อสำรองอาหารไว้บริโภคในยามฉุกเฉิน
        5. เพื่อลดค่าใช้จ่าย  และเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว  
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
      การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ต  และสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองกง  บ้านเสม็ด
1.3 ขอบเขตของโครงงาน
การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ต  และสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองกง บ้านเสม็ด
1.4ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
        1. ช่วยลดขยะและลดโลกร้อน
        2. ช่วยในการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
        3. ช่วยให้สมาชิกในครอบครัวได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน  ช่วยให้เกิดความสามัคคีปรองดองในครอบครัว
        4. ช่วยให้มีอาหารไว้สำรองในเวลาฉุกเฉิน
        5. ช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว และช่วยสร้างรายได้ให้กับครอบครัว                     
1.5   ศัพท์นิยาม    
            เกษตรในเมือง   หมายถึง    การปลูกหรือการเลี้ยงดู การทำให้เพิ่มพูนการนำเข้าสู่กระบวนการที่เกี่ยวข้องและการกระจายสิ่งที่เป็นผลผลิตที่เป็นอาหารอย่างเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้และที่ไม่ใช่อาหารอย่างพืชที่เป็นยาสมุนไพรรวมถึงการใช้และนำกลับมาใช้ใหม่ของทรัพยากรผลิตภัณฑ์และการบริการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเหล่านั้นซึ่งเกิดขึ้นและมีอยู่ในและรอบๆพื้นที่เมืองกล่าวคือพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมและย่านพาณิชย์ตั้งอยู่หรือในขอบเขตของพื้นที่ที่ถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางโดยที่กิจกรรมเหล่านั้น มุ่งเน้นดำเนินไปเพื่อตอบสนองคนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นเป็นสำคัญ   
                พืชผักสวนครัว      หมายถึง      พืชที่ใช้ส่วนต่างๆ เป็นอาหาร เช่น ลำต้น ใบ ดอก ผล และหัว พืชผักสวนครัวสามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการนำมาประกอบอาหารได้ 4 ประเภท  ดังนี้
1.  ใช้ผลเป็นอาหาร  เช่น  แตงกวา  มะเขือเทศ  พริกหวาน
2.  ใช้ใบและลำต้นเป็นอาหาร  เช่น  ผักกาดขาว  ตำลึง  ผักคะน้า  สะระแหน่
3.  ใช้ดอกเป็นอาหาร  เช่น  กะปล่ำดอก  ดอกแค  บร็อคโคลี่
4.ใช้หัวหรือรากที่อยู่ใต้ดินเป็นอาหาร  เช่น  หอมหัวใหญ่  แครอต  กระเทียม  ขิง                            
                                             
บทที่  2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1 เอกสารที่สารที่เกี่ยวข้อง
            การศึกษาครั้งนี้  คณะผู้จัดทำค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวของเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาโครงงาน  ดังหัวข้อต่อไปนี้
 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
อินเทอร์เน็ต  WWW.GOOGLE. COM   ได้แก่  ได้รู้จักวิธีปลูกพืชผักสวนครัวต่าง    คือ  ผักกาด  ผักหอม  ผักซี  ผักคะน้า  ผักกวางตุ้ง  พริก  กะหล่ำปลี  ผักกาดขาว  ผักบุ้งและตัวอย่างแบบ โครงงานภาษาไทย  ได้แก่  บทคัดย่อ  กิตติกรรมประกาศ  ที่มาและความสำคัญ  วิธีดำเนินงาน


 บทที่  3
วิธีดำเนินโครงงาน
3.1 วัสดุอุปกรณ์
        1. ขวดพลาสติก
        2. มีดสำหรับตัดขวดพลาสติก  เช่น มัดพับ  มีดคัดเตอร์  เป็นต้น
        3. เชือก ต้องเป็นเชือกที่มีความแข็งแรงพอสมควร เช่น  เชือกฟาง  เชือกป่าน เป็นต้น             
        4. ตะปูหรือลวดสำหรับเจาะรูขวด
        5. เมล็ดพันธุ์พืช
        6. วัสดุสำหรับปลูกพืช เช่น ดินร่วน ขุยมะพร้าว  ถ่านแกลบ  เป็นต้น

3.2 วิธีทำ
        1. นำขวดน้ำดื่มมาตัดครึ่ง
        2.  เจาะรูที่ฝาปิด
        3. นำส่วนบนที่มีฝาปิดพลิกลงด้านล่าง ใส่เข้าไปตรงส่วนก้นขวด
        4. ใส่ดินลงไป             
        5. ใส่เมล็ดพืช ที่ต้องการปลูกลงไป
        6.   รดน้ำพรวนดิน
3.3 วิธีดำเนินงาน 
ลำดับ
ขั้นตอนการศึกษา
ระยะเวลาดำเนินการ
1.
กำหนดหัวข้อเรื่อง
พ.ย. 57
2.
ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ  เรื่อง  การปลูกผักในขวดพลาสติกและเกษตรเขตเมือง และเศรษฐกิจพอเพียง
11 พ.ย.57
3.
รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการ  สัมภาษณ์  ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองกง  บ้านเสม็ด  เป็นต้น
13 พ.ย.  57
4.
ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับเรื่องเกษตรเขตเมือง  และทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงทั้งเรื่องการปลูกผักในขวดพลาสติก
15  พ.ย. 57
5.
รวบรวมข้อมูลที่ได้
16 พ.ย. 57
6.
จัดทำรูปเล่มรายงานขึ้น  เพื่อออกเผยแพร่ให้กับนักศึกษาและชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง
17  พ.ย. 57
7.
นำความรู้ที่ได้มา  จัดทำขึ้นผังโครงงาน
22 พ.ย. 57
8.
ฝึกซ้อมการนำเสนอโครงงาน  เรื่อง  ผักสวนครัวในขวดพลาสติก
23 พ.ย. 57
9.
นำเสนอโครงงาน
25  พ.ย. 57

บทที่  4
ผลการดำเนินงาน
4.1 ผลการดำเนินงาน 
            ผลการดำเนินงาน จากการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการ สัมภาษณ์ ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  และจากอินเทอร์เน็ต  พบว่าชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในบริเวณรอบเขตเมืองนั้นส่วนใหญ่นำขวดพลาสติกทิ้งกันโดยเปล่าประโยชน์และส่วนใหญ่พากันซื้อผักจากตลาดมาบริโภคกัน และนอกจากนั้นแล้วยังมีชาวบ้านบางครอบครัวที่มีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวกินเอง
ผู้จัดทำจึงได้เสนอแนวคิดเรื่องผักสวนครัวในขวดพลาสติกขึ้นมา และขอข้อมูลวิธีการปลูกพืชผักจากชาวบ้านด้วย
4.2 การนำไปใช้
               จากการศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลต่างๆผู้จัดทำได้นำเอาข้อมูลที่ได้มาประยุกต์ใช้โดยการนำขวดพลาสติกที่จะนำไปทิ้งกันนั้นมาทำเป็นกระถางปลูกผักเพื่อช่วยลดปริมาณการทิ้งขยะและลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าซื้อผัก  ค่าน้ำมันรถหรือค่ารถไปตลาด เป็นต้น  และนำไปใช้จริงในการใช้ชีวิตแบบหอพักซึ่งมีพื้นที่แคบๆให้สามารถปลูกผักสวนครัวไว้กินเองได้  เป็นต้น
บทที่  5
สรุปผล  อภิปรายผล  ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอแนะ
 การศึกษาโครงงาน  เรื่อง ผักสวนครัวในขวดพลาสติก   สรุปผลได้
ดังนี้
5.1 สรุปผล
            จากการศึกษาและสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  ได้ศึกษาพืชผักต่าง    เกี่ยวกับวิธีการปลูกพืชผักต่าง    และอื่น    ผู้ศึกษาจึงได้นำผลการเรียนรู้ออกเผยแพร่ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  ได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและสามารถปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จากการนำมาปฏิบัติจริงได้ผลออกมาในระดับดี
 5.2 อภิปรายผล 
            จากการศึกษา  เรื่องผักสวนครัวในขวดพลาสติก  ทำให้ทราบถึงประโยชน์จากขวดพลาสติกซึ่งเป็นแค่เศษขยะของคนส่วนใหญ่  ซึ่งเมื่อนำมาประยุกต์เป็นกระถางปลูกผักสวนครัวแล้ว  ทำให้ทราบถึงประโยชน์ต่างๆมากมาย ดังเช่น
1.การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2.ทำให้มีสุขภาพที่ดี  ทั้งกายและใจ
3.ช่วยลดรายจ่าย และสร้างรายได้ให้กับครอบครัว
4.ได้แบ่งปัน และช่วยสร้างมิตรภาพที่ดีกับเพื่อนบ้าน  เป็นต้น
5.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ได้ทำความรู้จักพบปะพูดคุยกับชาวบ้าน
2. ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
3. ลดขยะ  ลดภาวะโลกร้อน
4. ได้ประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของชาวบ้านและเรื่องการทำเกษตรเขตเมืองมากยิ่งขึ้น
5.4 ข้อเสนอแนะ
หากมีการเผยแพร่หรือให้ความรู้กับชาวบ้านหรือประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องผักสวนครัวในขวดพลาสติกนี้จะช่วยลดปริมาณขยะในประเทศได้มากเลยนะคะ/ครับ